มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
MSU

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มหาวิทยาลัยขอนแก่น
KKU

ผู้ติดตาม

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ปฏิทินเพื่อการศึกษา

ณ วัดพระพุฒจารย์โต

สังสรรค์ ณ บ้านริชาร์ด

เที่ยว ^_^INDY^_^ จร้า

ThaiRSSFeed - ข่าวแนะนำ

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สภาล่ม! ปิดประชุมกลางคัน เพราะคำว่าใบอนุญาตฆ่าประชาชน


           

           เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ในการประชุมรัฐสภาแถลงนโยบายของรัฐบาล เป็นวันที่ 2 มีทั้งฝ่ายค้านและสมาชิกวุฒิสภา ร่วมกันอภิปรายนโยบายของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง โดยบรรยากาศในช่วงเช้ายังเป็นไปอย่างเรียบร้อย แต่ในช่วงดึกกลับมีบรรยากาศตึงเครียดมากขึ้น หลัง นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อภิปรายพาดพิงการดำเนินคดีเสื้อแดงข้อหาละเมิดสถาบัน ส่งผลให้เกิดการฆ่ากัน และกล่าวหามีการออกใบอนุญาตให้ฆ่าประชาชน ทำให้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ และ นายอภิสิทธิ์ เวชชชีวะ ส.ส บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตนายกรัฐมนตรี ประท้วงให้ถอนคำพูด จน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ต้องสั่งพักการประชุมในที่สุด          โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นหลังจากที่ นายจตุพร พรหมพันธ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ใช้สิทธิพาดพิงชี้แจงต่อที่ประชุมรัฐสภา โดยระบุว่าเรื่องทักษิณมหาราษฎร์ เกิดจากหลังเลือกตั้งมีคนชั่วขี้เรือนบางคนไปขึ้นป้ายทักษิณมหาราษฎร์ ดังนั้น ขอสาปแช่งคนชั่วที่เอาป้ายมาขึ้นขอให้มีอันเป็นไป อีกทั้งพวกตนเจ็บปวดที่ ศอฉ.ไปขึ้นฝังล้มเจ้าพวกตนโดยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทั้งที่เลขา สมช. และโฆษก ศอฉ.บอกว่าปลอม 

          ทำให้ นายสุเทพ ลุกขึ้นประท้วงระบุว่าตนเสียหาย ประธานปล่อยให้ นายจตุพร พูดในเรื่องเลยเถิดว่า ศอฉ.ที่ตนกำกับดูแลได้ทำหลักฐานปลอม ใส่ร้าย นายจตุพร แต่เนื่องจากมีการล่วงละเมิดต่อสถาบันเบื้องสูง ตนรับผิดชอบดูแลความมั่นคงบ้านเมือง เมื่อเห็นว่าคนเหล่านี้มีพฤติกรรม ก็ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีทันที ไม่ใช่เรื่องใส่ร้าย เพราะขณะนี้ดีเอสไอสอบสวนเป็นผู้ต้องหาแล้วจำนวน 19 คน มี นายจตุพรอยู่ด้วย เป็นเรื่องจริง 
          จากนั้น นายณัฐวุฒิ ได้ลุกตอบโต้ทันทีว่า ตนก็เป็น 1 ใน 19 คน ขอยืนยันความบริสุทธิ์ พวกตนไปมอบตัวต่อดีเอสไอ และเซ็นหนังสือรับรองการสละสิทธิ์ใช้เอกสิทธิ์คุ้มครองในสมัยประชุม แต่การใส่ร้ายเอาสถาบันเบื้องสูงมาใช้ไม่เป็นส่วนดีต่อใครเลย เป็นเรื่องที่ทำลายทุกคนทุกฝ่าย นายกรัฐมนตรีที่ได้รับเสียงเลือกตั้งสูงสุดในประเทศ ก็ล้มเพราะข้อกล่าวหานี้ และที่ตนเจ็บปวดที่สุดคือข้อกล่าวหานี้ใช้ออกใบอนุญาตฆ่าประชาชน ไม่อยากให้คนตายเพิ่มเติมอีก

          ด้วยประโยคนี้ทำให้ นายอภิสิทธิ์ ลุกขึ้นประท้วง โดยระบุว่าประเด็นที่ นายสุเทพ ประท้วงไม่ใช่ความเสียหายต่อตัวพวกของตน แต่เพราะ ส.ส.ที่ประท้วงเอาประเด็นเรื่องสถาบันไปผูกโยงกับการเสียชีวิต ถ้าไม่จริงไม่เป็นไร ให้สมาชิกคนดังกล่าวลุกมาพูดใหม่ ตนยืนยันการเสียชีวิตในปี 2553 ให้สอบกันตามความจริง ใครผิดก็ลงโทษ แต่คนที่พูดว่าเอาเรื่องข้อกล่าวหาเกี่ยวกับสถาบันมาเป็นใบอนุญาตเกี่ยวกับการเสียชีวิต พูดอย่างนั้นพวกตนไม่เสียหาย แต่สถาบันเสียหาย ทำให้ นายสุเทพ เสริมอีกว่า นายณัฐวุฒิ ต้องถอนคำพูด ตนยอมไม่ได้ ตนเสียใจจริง ๆ ถ้าประธานไม่วินิจฉัยให้ถอน ตนก็ยอมรับประธานไม่ได้เหมือนกัน จากนั้นประธานจึงต้องสักพักการประชุม 10 นาที เพื่อไปวินิจฉัยคำอภิปรายของ นายณัฐวุฒิ อย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

          ทั้งนี้ หลังพักการประชุม 40 นาที และเปิดประชุมอีกครั้ง นายณัฐวุฒิ ได้กล่าวขอถอนคำพูด ขณะที่ นายประเสริฐ จันทร์รวงทอง เสนอให้ปิดประชุม นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน จึงลุกขึ้นท้วงว่าฝ่ายค้านยังอภิปรายไม่ครบขอให้เปิดประชุมต่อไป แต่ประธานฯ ได้ขอมติที่ประชุมจะให้เปิดประชุมต่อหรือไม่ ส.ส.ซีกฝ่ายค้านบางส่วน ทยอยออกจากที่ประชุมโดยไม่แสดงตน เมื่อประธานขานคะแนนการนับองค์ประชุมจึงมีจำนวน 308 คน ซึ่งถือว่าไม่ครบองค์ประชุมที่ต้องมี 325 คน ประธานจึงสั่งตรวจสอบองค์ประชุมอีกครั้ง และเมื่อนับครั้งที่สองก็มีสมาชิกเพียง 313 ไม่ครบองค์ประชุม ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง จึงลุกขึ้นประท้วงว่าเรื่องนี้ไม่ใช่กฎหมายสำคัญไม่ต้องลงมติ และการนับองค์ประชุมก็เป็นเรื่องที่ประชาธิปัตย์เสนอ ทำให้ ส.ส.ประชาธิปัตย์ที่ส่งเสียงโห่ ประธานสภาฯจึงสั่งปิดการประชุมทันทีในเวลา 23.30 น.

          อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ญัตติการแถลงนโยบายยังค้างอยู่ในที่ประชุม เมื่อองค์ประชุมไม่ครบ ประธานต้องนัดประชุมใหม่ โดยนัดล่วงหน้า 3 วัน แต่มีปัญหาข้อกฎหมายเนื่องจากการแถลงนโยบายต้องเสร็จภายใน 15 วัน หลังรัฐบาลรับหน้าที่ ซึ่งคือวันที่ 25 สิงหาคม นายสมศักดิ์ จึงนัดประชุมร่วมรัฐสภาอีกครั้ง ในวันที่ 25 สิงหาคม เวลา 13.00 น. เพื่อลงมติปิดการอภิปราย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น