มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
MSU

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มหาวิทยาลัยขอนแก่น
KKU

ผู้ติดตาม

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ปฏิทินเพื่อการศึกษา

ณ วัดพระพุฒจารย์โต

สังสรรค์ ณ บ้านริชาร์ด

เที่ยว ^_^INDY^_^ จร้า

ThaiRSSFeed - ข่าวแนะนำ

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554







ภัยพิบัติทางธรรมชาติ : สิ่งใกล้ตัวที่ควรรู้จัก
รศ.พิชัย บุณยะกาณจน
 รศ. ชูโชค อายุพงศ์
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ภัยพิบัติทางธรรมชาติ (Natural  Disasters) รูปแบบต่าง ๆ ทางธรรมชาติที่ได้มีการศึกษารวบรวม และบันทึกรายละเอียดไว้  อาจสรุปได้เป็น  10  ประเภท  คือ
                1.  การระเบิดของภูเขาไฟ (Volcano  Eruptions)
                2.  แผ่นดินไหว  (Earthquakes)
                3.  คลื่นใต้น้ำ  (Tsunamis)
                4.  พายุในรูปแบบต่าง ๆ (Various  Kinds  of  storms)  คือ
                                ก.  พายุแถบเส้น  Tropics  ที่มีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทร (Tropical  Cyclones)
                                ข.  พายุหมุนที่มีแหล่งกำเนิดบนบก (Tornadoes)
                                ค.  พายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorms)
                5.  อุทกภัย (Floods)
                6.  ภัยแล้ง  หรือทุพภิกขภัย (Droughts)
                7.  อัคคีภัย (Fires)
                8.  ดินถล่ม และโคลนถล่ม (Landslides  and  Mudslides)
                9.  พายุหิมะและหิมะถล่ม (Blizzard  and  Avalanches)  และ
                10. โรคระบาดในคนและสัตว์ (Human  Epidemics  and  Animal  Diseases)

ลักษณะของภัยแต่ละชนิด
                1)  ภัยจากน้ำท่วม  เป็นภัยที่เกิดขึ้นได้ทุกแห่ง  มีลักษณะและความรุนแรงแตกต่างกันออกไป  ดังนี้คือ
 1.1  การเกิดน้ำท่วมขังในที่ราบลุ่ม  เนื่องมาจากความไม่สมดุลระหว่าง  ก.ปริมาณน้ำฝน  ข.ปริมาณน้ำฝนที่ซึมลงสู่ใต้ดิน  และ  ค.ปริมาณน้ำผิวดินที่ไหลหรือระบายออกจากพื้นที่นั้น ถ้าปริมาณน้ำส่วน ก.  มากกว่าส่วน ข.  และส่วน ค.  รวมกัน  ก็จะเกิดการท่วมขัง ความรุนแรงของการท่วมขังไม่มากนัก  ค่อยเป็นค่อยไป  แต่อาจกินเวลานานกว่าจะระบายน้ำออกได้หมด
1.2  การเกิดน้ำป่าบริเวณป่าเขาที่มีความลาดชันสูง  ถ้าปริมาณฝนในพื้นที่รับน้ำมีมาก  จนทำให้ปริมาณน้ำผิวดินที่ระบายออกจากพื้นที่มีมาก  ด้วยอัตราที่รุนแรงเรียกว่า  น้ำป่า  ยิ่งถ้าป่าบริเวณนั้นถูกทำลายและปราศจากพืช  ต้นไม้ปกคลุมดิน  ก็จะพัดเอาเศษต้นไม้  กิ่งไม้  ตะกอน  ดิน  ทราย  และหินลงมาด้วย  ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พื้นที่บริเวณท้ายน้ำเป็นอย่างมาก  อุทกภัยจากน้ำป่ามีความรุนแรงกว่าประเภทแรก  และจำเป็นต้องใช้เวลานานในการแก้ไขจนกว่าพื้นที่นั้นจะกลับฟื้นคืนสภาพดังเดิมได้
1.3  น้ำล้นตลิ่งของลำน้ำ  เนื่องจากปริมาณและอัตราน้ำหลากที่เกิดขึ้นในบริเวณต้นน้ำ  มีมากเกินกว่าความสามารถของแม่น้ำในบริเวณดังกล่าวที่จะรับได้ ถ้าเป็นแม่น้ำขนาดเล็กและปริมาณของน้ำหลากไม่มากนำ  หรือเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ที่มีระบบควบคุมอัตราการไหลที่ดี  เช่นมีเขื่อน  อ่างเก็บน้ำ  ฝายทดน้ำ  หรือประตูระบายน้ำฯ  ความรุนแรงและความเสียหายอันเกิดขึ้นจากอุทกภัยอาจไม่มากนำ แต่ถ้าเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ปราศจากระบบควบคุมจะก่อให้เกิดความเสียหายมาก  และเป็นวงกว้าง
1.4  น้ำท่วมอันเกิดจากการวิบัติของระบบควบคุม  เช่น  เขื่อนพัง  อ่างเก็บน้ำแตก  ประตูระบายน้ำไม่อาจทำหน้าที่ได้  จะก่อให้เกิดน้ำหลาก  มีความรุนแรงมากกว่าน้ำป่า  และความเสียหายที่เกิดขึ้นก็มากกว่าเช่นกัน
1.5  การเกิด  และการเคลื่อนตัวของกำแพงน้ำ   (ดังเชนBore  หรือ  Surge)  มีความรวดเร็ว  และรุนแรงที่สุด  ปรากฏการณ์นี้  เป็นการเพิ่มระดับน้ำด้านเหนือน้ำอย่างมาก  และเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มักจะเป็นช่วงต่อระหว่างแม่น้ำกับทะเลซึ่งเป็นคอขวด  ภายใต้สภาพที่เหมาะสมของลำน้ำ  และทะเล  น้ำท่วมจากสาเหตุนี้จะมีความรุนแรง  และเป็นไปอย่างรวดเร็ว  จนไม่อาจอพยพคน  สัตว์เลี้ยง  สิ่งของได้ทัน  สภาพของความเสียหายจะเป็นไปอย่างกว้างขวาง  และมากมาย

                2.2  ภัยจากพายุหมุนที่มีแหล่งกำเนิดมาจากมหาสมุทรในบริเวณเส้น Tropics  อากาศบริเวณเหนือน้ำในมหาสมุทรใกล้เส้นศูนย์สูตร  เมื่อได้รับความร้อนจากการแฟ่รังสีของดวงอาทิตย์เป็นเวลานาน จะมีความอุณหภูมิสูงขึ้นและลอยตัวขึ้นสู่ท้องฟ้า  มวลอากาศเย็นจากบริเวณเส้นรุ้งที่อยู่ห่างไกลออกไปจะเคลื่อนที่มาปะทะกัน  แนวปะทะระหว่างมวลอากาศทั้งสองชนิดก่อให้เกิด  Warm  Front  (มวลอากาศร้อนดันมวลอากาศเย็นให้เคลื่อนที่)  และ  Cold  Front (มวลอากาศเย็นดันมวลอากาศร้อนให้เคลื่อนที่)  หมุนรอบแกนกลางซึ่งเรียกว่า  Low-Pressure  Center  แล้วเคลื่อนที่เข้าสู่แผ่นดิน  พายุหมุนประเภทนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหลายร้องกิโลเมตร  และความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางของพายุประมาณ  100-150  กิโลเมตร/ชั่วโมง  ยังผลให้เกิดพายุลมและฝน  ตามมาด้วยอุทกภัยในบริเวณกว้างขวาง
                ในแต่ละปีมีพายุหมุนประเภทนี้  ทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิค  (เรียกว่า Tyhoon,T)  ในมหาสมุทรแอตแลนติค  เรียกว่า  Hurricane,H)   และในความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากมายจนนับได้ว่าเป็นภัยจากธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุด

                2.3  ภัยจากพายุหมุนที่เกิดบนบก  ส่วนมากเกิดในมลรัฐต่าง ๆ ทางภาคใต้  และตะวันออกเฉียงใต้ใกล้กับอ่าวเม็กซิโก  ได้แก่  Texas, Oklahoma, Kansas,  Nebraska, Mississippim, Missouri, Alabama, Tennessee, Kentucky,  lowa  lllinois, Indiana  และ Obio ฯ  เป็นต้น  (ซึ่งรวมกันเรียกว่า  Central  and  Gulf  Coash  states  ของประเทศสหรัฐอเมริกา)
                พายุนี้เรียกเฉพาะว่า  Tornadoes  นับเป็นพายุหมุนที่มีแรงลมสูงสุดถึง  400-500  ไมล์/ชม.  แต่มีอายุของการเกิดสั้น  และครอบคลุมพื้นที่ไม่มากน้ำ  เมื่อเทียบกับพายุหมุน  Typhoons, Hurricanes  และ Cyclones  ดังนั้นความเสียหายจึงมีน้อยกว่า
                สาเหตุของการเกิดพายุหมุนประเภทนี้ได้แก่  การปะทะกันของมวลอากาศร้อน  (Warm  Air  Mass) จากบริเวณอ่าวเม็กซิโก  ทางภาคใต้  กับมวลอากาศเย็น (Cool  Air  Mass)  จากทางภาคเหนือ  และภาคตะวันตก  พายุหมุน  Tornado  ก่อให้เกิดเมฆฝนขนาดใหญ่+ฟ้าแลบ+ฟ้าร้อง+ฟ้าผ่า  และฝนที่มีความรุนแรงของลมสูงมาก  มีรูปร่างคล้ายงวงช้าง  (บ้านเราเรียกว่าลมงวงช้าง)ในแต่ละปีจะเกิดพายุหมุนดังกล่าวหลายร้อยลูกแถบ  Midwest  States  ของประเทศสหรัฐอเมริกา

                2.4  ภัยจากพายุฝนฟ้าคะนอง  พายุประเภทนี้พบบ่อยมากในพื้นที่ๆภูมิอากาศร้อน  และอบอุ่น  อาจกล่าวได้ว่าในแต่ละวันจะมีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นทั่วโลกมากถึงประมาณ  45,000  ลูก  ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดพายุแบบนี้  คือการลอยตัวขึ้นสู่บรรยากาศระดับสูงของกระแสอากาศที่มีความชื้นมาก  และอุณหภูมิสูงอย่างรุนแรง,  เมื่ออากาศร้อนชื้นดังกล่าวลอยตัวสูงขึ้นอุณหภูมิจะลดลง  และจะคายความร้อนแอ่งออกมาขณะที่เกิดการลั่นตัวของเมฆฝนเป็นหยดน้ำ  การคายความร้อนของมวลเมฆฝนดังกล่าวทำให้กระสกลมพัดขึ้นในแนวดิ่ง  และเกิดพายุ  ขณะเดียวกันอากาศบริเวณโดยรอบก็จะพัดเข้าสู่บริเวณศูนย์กลางของพายุ  การลั่นตัวของความชื้นในกระแสอากาศก่อให้เกิดเมฆฝนขนาดใหญ่ (Cumulo  Nimbus)ลอยขึ้นสู่ระดับสูงประมาณ 15,000 ฟุต (หรือประมาณ 4,600  เมตร)  จากฐานถึงยอดของเมฆนั้น  เมฆฝนนี้ก่อให้เกิดฝนและลูกเห็บ  บางทีอาจมีฟ้าแลบ  ฟ้าผ่าร่วมด้วย  พายุฝนฟ้าคะนองครอบคลุมพื้นที่ไม่กว้างขวางนำ  และจะสลายตัวภายในระยะเวลาอันสั้นไม่เกิน  1  ถึง  2 ชั่วโมง

                2.5  ภัยจากการระเบิดของภูเขาไฟ  นับเป็นมหันตภัยธรรมชาติที่รุนแรง  น่าสพรึงกลัว  และก่อให้เกิดความเสียหายมากอย่างหนึ่ง  แต่บังเอิญโชคดีที่ไม่เกดขึ้นกระจายทั่วไป  เหมือนภัยธรรมชาติอีก 4 ประเภท  ดังได้กล่าวมาแล้ว
                ภูเขาไฟมักจะเกิดขึ้นในสภาพของธรรมชาติดังต่อไปนี้คือ
                                ก.  ตามรอยแยกขนาดใหญ่บนผิวโลก
                                ข.  แนวสัน  หรือความต่างระดับของพื้นให้มหาสมุทร  และ
                                ค.  การเคลื่อนตัวสัมพันธ์กันของ  Tectonic  Plates  บนเปลือกโลก
                วงรอบมหาสมุทรแปซิฟิค  ซึ่งเชื่อมต่อกับทวีปเอเชีย,  ทวีปอเมริกาเหนือ  และทวีปอเมริกาใต้  ซึ่งเป้นของของ  Pacific  Plate  นั้นมีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า  Ring of  Fire  มีภูเขาไฟขนาดใหญ่  ที่มีอายุมากกว่า  2,000  ปี  และยังไม่ดับสนิทอยู่อีกมากกว่า  300 ลูกกระจัดกระจายไปทั่ว  นับตั้งแต่  Alaska,  อเมริกาเหนือ,  อเมริกาใต้  ลงไปถึง  Chile  ข้าม  New  Zealand,  Philippines  จนถึงญี่ปุ่น
                การระเบิดของภูเขาไฟจะพ่น  เถ้าถ่าน  หินละลายออกมาเป็นจำนวนมหาศาล  เมือง  Pompeii  ประเทศอิตาลี  ถูกฝังจากการระเบิดของภูเขาไฟ  Vesuvius  เมื่อปี   79  ก่อนคริศตกาล  ผู้คนเสียชีวิตหลายพันคน

                2.6  ภัยจากการเกิดแผ่นดินไหว  แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น  และสัมผัสได้บริเวณเปลือกโลกเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปล่อยพลังงานออกมาเป็นจำนวนมาก  และทันทีทันใดในรูปของคลื่อนแห่งความสั่นสะเทือน  ซึ่งเกิดลึกลงไปใต้ดิน  หรือใต้พื้นมหาสมุทรจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก(Earth  Crust)  ตามแนวแยก (Fauts)  ซึ่งเป็นไปได้ในหลายลักษณะแผ่นดินไหวในแต่ละครั้งอาจมีความรุนแรงมากน้อยต่างกัน  และยังผลให้เกิดผลเสียหายต่อชีวิต  และทรัพย์สอน  ตามไปด้วยเป็นอย่างมาก  แผ่นดินไหวอาจก่อให้เกิด  ภูเขาไฟระเบิด  หรือคลื่นใต้น้ำ  (Tsunami)  ซึ่งช่วยแผ่กระจายความเสียหายไปตามมวลน้ำในมหาสมุทรได้อย่างมากมายมหาศาล

                2.7  ภัยจากคลื่นใต้น้ำ  คลื่นและกระแสน้ำ  เป็นการเคลื่อนไหวของน้ำในทะเล  2  ลักษณะซึ่งไม่เหมือนกัน  แต่มีความเกี่ยวเนื่องกันบาทีพลังงานจากคลื่น,  กระแสน้ำ  เสริมด้วยลม  และพายุที่มีความเร็วสูงจะก่อให้เกิดอุทกภัยที่มีความรุนแรง  และอำนาจทำลายล้างสูงมาก        
                ดังจะเห็นได้จากปรากฏการณ์เมื่อเดือนมกราคม  ปีค.ศ.1753  ในทะเลเหนือ  กล่าวคือ  ระดังน้ำสูง (High  Spring  Tide)  บวกกับคลื่นสูง (Storm  Waves)  และลม  (Winds)  ซึ่งมีความเร็วสูงถึง  185 กิโลเมตร/ชั่วโมง  (หรือ 115  ไมล์/ชม.)  ทำให้ระดับน้ำในทะเลเหนือสูงกว่าปกติถึง  3  เมตร  (10 ฟุต)  ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า  “SURGE”  ในทะเล,  ผลลัพธ์ก็คือ  เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างขวางแถบชายทะเลภาคตะวันออกของอังกฤษ  ในส่วนของเนเธอร์แลนด์พื้นที่ประมาณ  4.3ของประเทศถูกน้ำท่วมขัง  ทำให้บ้านเรือนราว  30,000  หลังได้รับความเสียหาย และถูกทำลาย  มีผู้คนเสียชีวิตกว่า 1,800  คน
                คลื่นในทะเลและมหาสมุทรส่วนใหญ่เกิดจากแรงเสียดทานอันเนื่องมาจากความเร็วของลมพัดเหนือน้ำ  การเคลื่อนที่ของคลื่นเคลื่อนตัวใน  2 ลักษณะประกอบกัน  คือ 1 การหมุนตัว (Rotation)  และ 2.  การเคลื่อนตัวในแนวเส้นตรงไปข้างหน้า  (Trancslation)  คลื่นที่พัดเข้าสู่ชยฝั่งทะเลแล้วสลายตัวขึ้นไปตามชายหาด  หรือกระทบกับผาหิน  มักมีกำเนิดจากพายุในตอนกลางของมหาสมุทร  หรือลมที่เกิดขึ้นในบางส่วนของมหาสมุทรนั้น
                คลื่นใต้น้ำ (ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Tidal  Waves, หรือ Tsunami)  ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระแสน้ำ  (Tides)  ในมหาสมุทรเลยแม้แต่น้อย  สาเหตุหลักเกิดมาจาก
                                ก.  แผ่นดินไหว  (Earthquakes)
                                ข.  การระเบิดของภูเขาไฟ  (Volcanic  Eruptions) หรือ
                                ค.  การถล่มทะลายของภูเขาไฟหรือมวลดินใต้น้ำ  (Submarine  Landslides)
แต่สาเหตุหลักของการเกิดคลื่นใต้น้ำส่วนใหญ่และขนาดใหญ่ที่มีความรุนแรงมากคือ “แผ่นดินไหว” ซึ่งเกิดขึ้นใต้ท้องมหาสมุทร
                ในท้องทะเลคลื่นจากความสั้นสะเทือน  (Shock  Waves)  ที่เกิดขึ้นจากบริเวณศูนย์กลางของแผ่นดินไหว  แล้วกระจายออกไปทุกทิศทางโดยรอบนั้นมักมีความสูงน้อยมาก  เพียง  60  ถึง  90 เซนติเมตร  (2 ถึง 3 ฟุต ) แต่ความยาวของคลื่นอาจะเป็นหลายร้อยกิโลเมตร  และความเร็วหลายร้อยกิโลเมตร/ชั่วโมงดังตัวอย่างของคลื่นใต้น้ำในร่องลึกใต้มหาสมุทรบริเวณที่เรียกว่า  Aleutian  Trench ทางเหนือสุดของมหาสมุทรแปซิฟิค  เมื่อปี  1946  ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากมายต่อหมู่เกาะฮอนโนลูลู  ซึ่งอยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิค  Tsunami  ที่เกิดขึ้นเดินทางจากแหล่งกำเนิด  จนถึงหมู่เกาะฮอนโนลูลูใช้เวลาประมาณ  4  ชั่วโมง  34  นาที  ต่อระยะทาง 3,220  กิโลเมตร  (หรือ2,000ไมล์)  ด้วยความเร็วเฉลี่ยราว  00 กิโลเมตร/ชั่วโมง  (หรือ 438ไมล์/ชั่วโมง) ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงมาก  เทียบได้กับความเร็วของเครื่องบินไอพ่น
                คลื่นที่มากระทบชายฝั่งของหมู่เกาะฮอนโนลูลูมีความสูงกว่า  38  เมตร (หรือ 1125  ฟุต) จากการเปลี่ยนรูปของพลังงานจลน์จากคลื่นสูง  15  เมตร  (50  ฟุต)  มาเป็นพลังงานศักย์ดังกล่าว
                ส่วนมาก  Tsunami  มีความรุนแรงมากที่สุดมักจะเกิดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิค  แต่มีเพียงบางส่วนที่เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติค
                ในครั้งนั้น  Tsunami  เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรแอตแลนติคใกล้กับ  Lisbon  ปอร์ตเกสเมื่อปี  1755  คลื่น  ขนาดความสูง  4  ถึง  6  เมตร  (หรือ 10  ถึง  20 ฟุต)  ถาโถมเข้าสู่ในทันทีทันใด และได้แผ่ไปถึงหมู่เกาะ west  Indies  อยู่ฟากตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติคมีระยะห่างออกไปหลายพันไมล์ความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สอนมีเป็นจำนวนมากมายมหาศาล
ถ้าย้อนมองอดีตจากปัจจุบันไปสัก  1 ศตวรรษ  (ราว  พ.ศ. 2551  จนถึง  พ.ศ.2451)  จะเห็นได้ว่าเป็นยุคแห่งสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่  2  เมื่อลองประมาณการจำนวนคนที่ต้องเสียชีวิตจากผลของสงครามโลกทั้งสองครั้งรวมแล้วไม่น้อยกว่า  10  ถึง  15  ล้าน  คนอย่างแน่นอน  แต่ถ้าเปรียบเทียบกับจำนวนผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้ง  10  ประเภท  ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน  ตามที่ได้มีการจดบันทึกไว้  น่าจะมีตัวเลข  มากกว่าตัวเลขดังกล่าว  2  หรือ  3  เท่าอย่างแน่นอน
                ภัยพิบัติทางธรรมชาติดังกล่าวล้วนเป็นภัยใกล้ตัว  อาจจะเกิดขึ้นที่ไหน  และเมื่อไรก็ได้  ทำให้มองดูแล้วน่ากลัวมาก  แต่ในความเป็นจริงแล้ว  จากการเรียนรู้ทางประสบการณ์  ของภัยพิบัติต่าง ๆ ด้วยตนเอง  และ/หรือจาก  ตำรา  บทความ  ตลอดจนงานวิจัยที่มีผู้ทำไว้  ล้วนมีประโยชน์ในการดำรงชีวิตท่ามกลางภัยพิบัติทางธรรมชาติซึ่งอยู่รอบตัวเราได้  ด้วยความอยู่รอดปลอดภัยในภายภาคหน้า
                ประเทศไทยเรายังนับว่ามีบุญ  และโชคดีที่ภัยพิบัติทางธรรมชาติมีน้อย  ที่มีก็ไม่มีความรุนแรงมากนัก  ดังเช่นประเทศอินโดนีเซีย  ประเทศฟิลิปปินส์ฯ  ซึ่งอยู่ในทวีปเอเชียด้วยกันกับเราล้วนมีภัยพิบัติ  เกี่ยวกับภูเขาไฟ  แผ่นดินไหว  และคลื่นใต้น้ำที่มีความรุนแรงในระดับต้น ๆ เป็นประจำแทบทุกปี  และในแต่ละปีอาจมีหลายครั้ง  ทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งมีชีวิต  และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก  แต่ประชากรในทั้งสามประเทศฯ  ก็ยังคงอยู่ร่วมกับภัยพิบัติดังกล่าวได้อย่างมีความสุข
                ในช่วงระยะเวลาทศวรรษ  คงได้ทราบข่าวจากสื่อต่าง ๆ ถึงการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่โน่นบ้าง  ที่นี่บ้างอยู่เป็นประจำ  โดยเฉพาะประเทศไทยเราต้องเผชิญกับภัยพิบัติของ  Tsunami  ครั้งที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์  บริเวณทะเลอันดามันเกิดแผ่นดินไหวขนาด  9.0  ตาม  Richter’ Scale  ทางตะวันตกของเกาะสุมาตราประเทศอินโดนีเซีย  เมื่อประมาณ  08.00น.  ของวันอาทิตย์  ที่  26  ธันวาคม พ.ศ.  2547  ตามมาด้วย  Tsunami  ขนาดใหญ่  และมีความร้ายแรงมาก  กระทบกระเทือนไม่ถึงกว่า  10  ประเทศโดยรอบทำให้มีคนเสียชีวิตราว  300,000  คน  และความเสียหายหลายพันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา  สิ่งนี้เป็นการจุดประกายถึงการเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อเผชิญภัยพิบัติที่ร้ายแรงต่อไปในภายภาคหน้า






















6 เทคนิคการดูแลผิวหน้าด้วยผลไม้

ทุกวันนี้ผิวโดนทำร้ายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด หรือมลภาวะต่างๆ ถึงเวลา Back to the nature เพิ่มเติมความสดใสคืนสู่ผิวกันแล้วนะจ๊ะ สำหรับหนุ่มสาวที่อยากหน้าใสสวยเด้ง ฟังทางนี้ โบว์ มี 6 สูตรมาร์คหน้าง่ายๆ ที่จะทำให้หน้าขาวใส มาฝากกันโดยใช้ผลไม้มาเป็นส่วนประกอบหลัก
1.สูตรหน้าใสด้วยน้ำผึ้งผสมมะนาว
ส่วนผสม:  น้ำผึ้ง 1 ถ้วย
น้ำมะนาว 1 ช้อนชา
วิธีทำ: ผสมน้ำผึ้งกับน้ำมะนาวให้เข้ากัน นำมานวดให้ทั่วใบหน้าประมาณ 15 นาที หลังจากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด
  • มะนาว จะช่วยขจัดเซลล์ผิวเช่นเดียวกับครีมที่ผสมกรด AHA ส่วนน้ำผึ้งจะทำให้ผิวหน้านุ่มและชุ่มชื้น
2. สูตรหน้าใสด้วยแอปเปิ้ล
ส่วนผสม: แอปเปิ้ล ปอกเปลือกแล้วคว้านเอาเฉพาะเนื้อ
น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ: นำเนื้อแอปเปิ้ลมาปั่นรวมกับน้ำผึ้ง ทาให้ทั่วใบหน้าแล้วนวดเบาๆ ทิ้งไว้ 15 นาที หลังจากนั้นล้างออกด้วยน้ำเย็น
  • สูตรนี้จะช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วให้หลุดออกไป เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหน้า ทำให้ใบหน้าดูสดใสเปล่งปลั่ง อีกด้วย
3. สูตรกระชับรูขุมขน
ส่วนผสม: กล้วยหอม แตงกวาหรือมะเขือเทศ เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งปอกเปลือก เอาเมล็ดออกให้หมดแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
น้ำผึ้งหรือนมเปรี้ยว
วิธีทำ: ใช้กล้วยหอม แตงกวาหรือมะเขือเทศก็ได้ เติมน้ำผึ้งหรือนมเปรี้ยว นำไปปั่นให้ละเอียดจนเป็นเนื้อครีม นำมาพอกให้ทั่วใบหน้าและลำคอ ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที ล้างออกด้วยน้ำอุ่น
  • สูตรนี้จะ ช่วยทำความสะอาดใบหน้า และกระชับรูขุมขนและบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น
4. สูตรครีมทำความสะอาดผิวหน้า (Cleanser)
ส่วนผสม: โยเกิร์ต ½ ถ้วย
น้ำมันดอกทานตะวัน
มะนาวสด1½ ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ: ผสมโยเกิร์ต น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมะนาวสดให้เข้ากัน นำมาพอกให้ทั่วหน้าประมาณ 5 นาที ทุกเช้าและก่อนนอน แล้วจึงล้างออก ด้วยน้ำสะอาด
  • สูตรนี้ใช้ได้กับทุกสภาพผิว จะช่วยทำความสะอาดผิวหน้าได้อย่างล้ำลึก และบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นอีกด้วย
5. สูตรสาวผิวแห้ง มอยเจอร์ไรเซอร์จากกล้วย
ส่วนผสม: กล้วย 1 ผล
น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ: บดกล้วยกับน้ำผึ้ง ผสมให้เข้ากัน นำมาพอกให้ทั่วใบหน้าทิ้งไว้ 15 นาที ล้างออกด้วยน้ำอุ่น จะทำให้ผิวหน้าชุ่มชื้นขึ้น
  • สูตรนี้เหมาะกับผิวแห้ง
6. สูตรพอกหน้าใสจากแตงกวา
ส่วนผสม: แตงกวา 1 ผล หั่นแตงกวาเป็น ชิ้นบางๆ
ไข่ไก่ 1 ฟอง(ใช้เฉพาะไข่ขาว)
น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ: นำแตงกวา ไข่ไก่(ใช้เฉพาะไข่ขาว)และมะนาว ไปปั่นจนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน นำมาพอกให้ทั่วใบหน้า เว้นรอบปากและดวงตา ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วจึงล้างหน้าตามปกติ หมั่นทำบ่อยๆ ทุกสัปดาห์ จะช่วยลดความมันส่วนเกิน และยังช่วยกระชับรูขุมขน ผิวหน้าจะ ดูเนียนเรียบและชุ่มชื้น
  • เหมาะสำหรับผิวมันและผิวผสม
Tips:
  • ผลไม้ที่ใช้ต้องสด มีคุณภาพดี
  • ภาชนะที่ใช้ใส่ผลไม้ ส่วนผสมต่างๆ ควรใช้แก้วหรือกระเบื้อง
  • ก่อนทำการพอกหน้า ควรทำความสะอาดใบหน้าให้สะอาด โดยการอัง ใบหน้ากับไอน้ำและนวดเบาๆ เพื่อเปิดรูขุมขน
  • เวลาพอกหน้าไม่ควรพูดคุยหรืออ่านหนังสือ

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554









                                    การดูแล...ผมแตกปลาย!?                                                            


"การดูแลผมแตกปลาย"
ผมแตกปลายเกิดขึ้นเมื่อชั้นของเซลล์ของเส้นผมแตกแยกตัวออกจากกัน ไม่มีวิธีที่จะทำให้ชั้น ที่แตกแยกออกจากกันนี้กลับมาสมานสนิทได้ถาวร ครีมนวดผม (conditioner) จะทำให้เส้นผมที่ แตกปลายกลับมาสมานกันได้เพียงชั่วคราวเพียงแค่ 2-3 ชั่วโมง หรืออย่างมากก็แค่ไม่กี่วัน โดยทั่วไปเมื่อสระผมครั้งต่อไปผมก็จะแตกปลายอีก

จึงต้องใช้ครีมนวดผมอย่างสม่ำเสมอ วิธีใช้ครีมนวดผมคือใช้หลังสระผมแล้วชโลมครีมนวดผมทิ้งไว้สัก 10 นาที แล้วล้างออก หรือครีมนวดผมอีกแบบที่ใช้หลังสระผมโดยซับผมให้หมาดๆ แล้วชโลมครีมทิ้งไว้เลยโดยไม่ต้องล้างออก นอกจากนั้นหลังสระผม อย่าขยี้ผมแรงๆ ให้ใช้ผ้าขนหนูสะอาดซับผมให้แห้ง อย่าหวีผมหรือแปรงผมขณะที่ผมยังเปียกอยู่

ถ้าจะใช้เครื่องเป่าผมก็อย่าตั้งอุณหภูมิสูง เพราะจะทำลายเส้นผมทำให้ผมแตกปลายได้ง่ายขึ้น อย่าย้อมผม ดัดผม ยืดผมบ่อยเกินไปเพราะทำให้เส้นผมแตกปลายได้ง่าย โดยทั่วไปเส้นผมของคนเราหลังตัดครบ 1 เดือนจะเริ่มยาวไม่สม่ำเสมอ และมีผมแตกปลาย ดังนั้นการไปพบช่างตัดผมอย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยให้เรือนผมดูสวยงามอยู่เสมอนะครับ วิธีแก้ไขผมแตกปลายที่ดีที่สุดก็คือตัดส่วนปลายผมที่แตกปลายออก ดังนั้นคนที่ไว้ผมสั้นจะมีปัญหาเรื่องผมแตกปลายน้อยกว่าคนที่ไว้ผมยาว

ส่วนอาหารวิตามินและเกลือแร่ที่ช่วยบำรุงเส้นผมให้แข็งแรง ได้แก่

ธาตุเหล็ก - พบในเนื้อสัตว์ ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ผักขม

กลุ่มของวิตามินบี - พบในจมูกข้าว ถั่ว ไข่ ถั่วเหลือง กล้วย

กรดอะมิโน เช่น ซิสเตอีนและเม็ทไทโอนีน ซึ่งมีส่วนประกอบของกำมะถันที่ จะทำให้เซลล์ เส้นผมเชื่อมติดกันแน่น พบในถั่ว เม็ดธัญพืช ไข่ เนื้อ

สังกะสี - พบในเนยแข็ง ข้าวซ้อมมือ ปลาซาร์ดีน และขนมปังข้าวไรย์

ซีลีเนียม - พบในเนยแข็ง Cheddar กุ้ง แครอท

สำหรับวิธีการสระผมที่ถูกต้องนั้น มีขั้นตอนคือ

1. ปล่อยให้ผมสยายลงมาตามธรรมชาติขณะสระผม นั่นคือสระผมในท่ายืนสระใต้ฝักบัว หรือก้มสระในอ่างอาบน้ำ

2. ใช้น้ำอุ่นชะล้างเส้นผมก่อนที่จะลงแชมพู

3. เอาแชมพูใส่ฝ่ามือ กะปริมาณแชมพูให้พอเกิดฟองได้หมดทั้งศีรษะ

4. ฟอกเส้นผมและหนังศีรษะด้วยแชมพู เริ่มที่หนังศีรษะก่อนใช้ปลายนิ้วนวดหนังศีรษะเบาๆ อย่าเกาหนังศีรษะหรือขยี้แรงๆ

5. ใช้น้ำสะอาดล้างแชมพูออก โดยใช้นิ้วมือล้างแชมพูออกตั้งแต่โคนเส้นผมไปสู่ปลายเส้นผม ห้ามขยี้แรงๆ เพราะเส้นผมจะได้รับอันตรายจากแรงเสียดสี

สำหรับการใช้ครีมนวดผมนั้น มีขั้นตอนดังนี้

1. สระผมล้างแชมพูออกอย่างหมดจด อย่าให้มีฟองแชมพูตกค้าง

2. เทครีมนวดผมใส่ฝ่ามือ

3. ฟอกครีมนวดผมกับเส้นผม ใช้ปลายนิ้วลูบไล้ครีมนวดผมให้ทั่วเส้นผมแล้วทิ้งไว้ 1-2 นาที

4. ล้างครีมนวดผมออก โดยให้น้ำชะล้างครีมนวดผมตั้งแต่โคนไปสู่ปลายเส้นผม ห้ามขยี้เส้นผมขณะผมเปียก

สำหรับการเช็ดผมให้แห้ง มีขั้นตอนคือ

1. ใช้ผ้าขนหนูสะอาด ที่แห้งสนิท ซับเส้นผมที่เปียกน้ำ

2. ในขณะที่ผมยังชื้นอยู่ ใช้แปรงหรือหวีสางผมที่พันกันหรือยุ่งเหยิง โดยแปรงเบาๆ จากปลายเส้นผม และค่อยๆ สูงขึ้นไปสู่โคนเส้นผม

3. ใช้มูสหรือเจลตามที่ชอบ แต่อย่าใช้มากเกินไป

4. ควรปล่อยให้เส้นผมแห้งสนิทตามธรรมชาติ

5. หากมีเวลาจำกัด ไม่สามารถรอให้ผมแห้งตามธรรมชาติได้ ก็ต้องใช้เครื่องเป่าผม โดยใช้เครื่องเป่าผมเมื่อซับผมด้วยผ้าขนหนูก่อน

6. ควรใช้ความร้อนและความแรงของเครื่องเป่าที่สปีดต่ำสุด

7. การเป่าผมต้องเคลื่อนไหวไปทั่วศีรษะ อย่าจ่อเป่าให้แห้งทีละจุดๆ เพราะจะทำให้ เส้นผมและหนังศีรษะเกิดอันตราย

เส้นผมของคุณจะแลดูสวยเป็นเงางามก็ต่อเมื่อได้รับการดูแลบำรุงรักษาทุกวัน ร่วมไปกับการกินอาหารที่ดีและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม รวมถึงพยายามลดความเครียดลงด้วย เพราะความเครียดทำให้ผมหลุดร่วงได้

ส่วนวิธีปฏิบัติเพื่อให้เส้นผมไม่แตกหักง่ายและดูเงางามอ่อนนุ่มสลวยอยู่เสมอมีดังนี้

1 หวีและแปรงผมให้น้อยลง ความเชื่อที่ว่าควรแปรงผมวันละ 100 ครั้ง นั้นเป็นความเชื่อ ที่ผิด และไม่ควรใช้หวีหรือแปรงที่มีขนแหลมคม หรือที่ทำจากโลหะหรือพลาสติก ควรใช้หวีที่ทำจากขนสัตว์ธรรมชาติ

2. ไม่ควรแปรงผมย้อนไปด้านหลังหรือยีผมแรงๆ (ควรหวีผมตามแนวเส้นผม)

3. ไม่รัดผมให้แน่นหรือถักเปียแน่นจนเกินไปนัก รวมทั้งการสวมหมวกที่คับเกินไป หรือพันผ้าคาดศีรษะจนแน่น

4. ควรใช้แชมพูอ่อนๆ สระผม หลังสระควรใช้ครีมนวดหรือครีมปรับสภาพเส้นผม และไม่ควรสระผมและเป่าผมให้แห้งบ่อยครั้งเกินไป

5. เล็มปลายเส้นผมที่แตกปลายทิ้ง

นอกจากนี้ยังพบว่าสารเคมีเป็นสาเหตุที่ทำให้เส้นผมหักได้บ่อยที่สุด เพราะเมื่อชั้นนอกสุดของเส้นผมถูกสารเคมีอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะจากยาย้อมผม ยากัดสีผม ยาดัดผม หรือยาเหยียดผม ยายืดผมตรง สารเคมีในตัวยาเหล่านี้จะทำให้เส้นผมแห้งและแข็งกระด้าง จึงควรใช้น้ำยา เหล่านี้เมื่อจำเป็นและไม่ควรใช้บ่อยครั้ง



13 วิธีการออมเงินอย่างง่าย
            ในเวลาปัจจุบัน เงินเป็นปัจจัยจำเป็นสำหรับคนทุกคน เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ หากเราใช้ไปโดยไม่ยั้งคิดหรือฟุ้มเฟือย ปัจจัยชนิดนี้ก็จะหมดไปโดยฝากความลำบากไว้ให้กับเราในอนาคต ดังนั้นการออมเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องปฏิบัติให้สม่ำเสมอ ควรปลูกฝังการประหยัดเงินตั้งแต่อายุน้อยเพื่ออนาคตจะได้ไม่ต้องพบเจอกับเจ้าปีศาจที่ไม่เป็นที่ประสงค์ของคนทุกคนคือ ความจนกับความลำบาก นั้นเอง
            วิธีการในการออมเงิน สามารถทำได้ดังนี้
1.      ลงทุนซื้อกระปุกออมสินมาวางไว้ในที่ที่พบเห็นบ่อยครั้ง เช่น โต๊ะทำงาน ข้างเครื่องคอมพิวเตอร์ บนหัวเตียง ข้างรูปสุดที่รัก หรือแม้แต่หน้าห้องอาบน้ำ เป็นต้น เลือกเอาที่ใดที่หนึ่ง เพื่อเป็นการฝึกนิสัยการออม โดยจะได้ไม่ลืมใช้เงินอย่างฟุ้มเฟือยและหยอดออมสินทุกครั้งที่มีเงินเหลือ
2.      หัดรู้จักคำว่า ความจำเป็น กับ น่ารัก เพราะของทุกอย่างล้วนมีระดับความจำเป็นไม่เท่ากัน การซื้อโดยคำนึงแต่คำว่าน่ารักแล้วอยากได้อย่างเดียวนั้นไม่พอดังนั้นจึงควรคิดพิจารณาก่อนหยิบยื่นตรงแคชเชียร์ทุกครั้ง จะได้ไม่เสียใจเมื่อซื้อในภายหลัง เว้นแต่ว่าของสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่อยากได้จริงๆ เห็นสิ่งอื่นๆที่สวยกว่าเราไม่สนและเหมาะสมกับสภาพเงินที่มีก็สมควรซื่อได้เพื่อสนองความต้องการ
3.      วิธีนี้สำหรับคนที่ชอบจดชอบเขียนคือทำ แบบบันทึกรายรับรายจ่าย อาจทำเป็นสมุดเล่มเล็กเพื่อพกพาไปได้ทุกที่ จ่ายอะไรไปก็จดไว้ ได้มายังไงก็จดไป พอครบกำหนดก็รวมรายรับรายจ่าย วิธีนี้สามารถตรวจต่อมความฟุ้มเฟือยของเราได้เป็นอย่างดี
4.      หากรู้ตัวว่าต้องไปในที่ๆมีแต่ของฟุ้มเฟือย แพงหูฉีกจนแม้แต่เกิดใหม่ซักกี่ชาติก็ไม่สามารถหาตังค์มาซื้อได้ ให้ท่านยืนสงบนิ่งซักแป็บ แล้วเงินทั้งหมดออกจากกระเป๋า จะได้ไม่ต้องพกให้เมื่อยกุงเกงแถมประหยัดอีกต่างหาก
5.      ซื้อกระเป๋าที่มีช่องลับเยอะๆสำหรับพกไปเดินห้างสรรพสินค้าที่มีแต่ของสุรุ่ยสุร่าย เอาไว้ซ่อนเงินแล้วเวลาเกิดอยากได้อะไร พอเปิดกระเป๋าก็จะหาไม่เจอ ไม่ต้องจ่าย ไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องเสียเงิน ประหยัดแบบวัยรุ่นยุคใหม่ ได้ทั้งความเท่ ประหยัดและปลอดภัยจากมิจฉาชีพ (แต่ต้องไม่ซ่อนจนลืมที่ซ่อนนะ)
6.      เอาเงินไปฝากธนาคารแบบฝากประจำ อันนี้เป็นวิธีที่หลายคนนิยม ปลอดภัยสุดๆเมื่อเม็ดเงินของคุณถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีในตู้นิรภัยหนากว่าฟุต
7.      ฝึกทำงานพิเศษ หารายได้ด้วยตนเองโดยไม่ง้อแบเงินขอพ่อแม่ให้ลำบากท่าน วิธีนี้เหมาะที่สุดสำหรับนักศึกษาทั้งที่เรียนอยู่และจบทำงานแล้ว เพื่อฝึกให้เห็นถึงความลำบากของการหาเงินและคุณค่าของเงินที่หลายคนหลงลืมไป
8.      ซื้อของลดราคา สามารถหาได้ง่ายตามศูนย์การค้าทั่วไป (แม้แต่คนเขียนยังชอบ)
9.      เอาล่ะสิ วิธีนี้เหมาะกับแม่บ้านหัวไวหรืออนาคตนักคณิตศาสตร์โดยเฉพาะ คิดเลขเร็วไง...เวลาซื้ออะไรก็รวมรายจ่ายไว้ในสมอง ใช้ประกอบกับข้อสองวิธีนี้ก็จะศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น เผลอๆโตขึ้นได้ติดอันดับกินเนสบุคด้านคิดเลขเร็ว
10.  อย่าหลงคำโฆษณาชวนเชื่อจากปากโฆษกขี้โว (ขี้โม้) โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกชอบชวนคุยและพวกที่ยิ่งคุยเข้าหูเราก็ยิ่งต้องระวังกันใหญ่
11.  ฝากเงินไว้ที่เพื่อน นัดเวลาเอาเงินคืน ถือเป็น ATM  เคลื่อนที่ไปในตัว แต่มีข้อแม้ว่าต้องเป็นเพื่อนที่ซื่อสัตย์ต่อเราจริงๆเดี๋ยว ATM จะกลายเป็นตู้หยอดเหรียญแทน (ให้แล้วไม่ได้คืนอะดิ)
12. อยู่ว่างๆร้องเพลง "คนมีตังค์" ดังๆ ได้ทั้งความสนุก สู้ชีวิต เผลอๆได้ (เศษ) ตังค์จริงๆด้วย
13.เรียนรู้กับหลักดำเนินชีวิตที่ในปัจจุบันกำลังนิยมมากคือ เศรษฐกิจพอเพียง ในข้อนี้สำคัญมากเพราะเป็นสิ่งที่ในหลวงของเราทรงย้ำเตือนคนไทยมากว่าหลายปี เป็นสิ่งที่ทุกคนควรอย่างยิ่งที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ถวายเป็นความภักดีเพื่อพระมหากษัตริย์ของปวงชนชาวไทย

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

10 วิธีลดโลกร้อน





1. กินข้าวให้หมดจาน อาหารที่เหลือทิ้ง หมายถึงการทิ้งพลังงานในการปรุง และการกำจัดด้วย
2. กินอาหารตามฤดูกาล และเป็นผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น อาหารนอกฤดูกาลนั้น จำเป็นต้องบังคับให้ออกลูก ออกผล ซึ่งหมายถึงต้องใช้พลังงานเข้าช่วย หรือไม่ก็จะต้องสั่งซื้อและขนส่งมาจากที่ห่างไกล
 3. กินผักใบเขียวให้มากขึ้น ลดเนื้อแดง และชีส การเลี้ยงปศุสัตว์ทั่วโลกนั้น ปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึงร้อยละ 18 แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นมังสวิรัติ เพียงแค่ลดเนื้อแดงลงแค่ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ก็พอจะช่วยโลกได้บ้างแล้ว
4. เลือกผลิตภัณฑ์อินทรีย์ปลอดสารพิษทุกครั้งที่มีโอกาส ผลการวิจัยบอกไว้ว่า เกษตรอินทรีย์ช่วยรักษาคุณภาพของดิน ซึ่งเป็นแหล่งเก็บกักคาร์บอนที่สำคัญ???????
5. เลือกอาหารสดที่ไม่ผ่านกระบวนการแช่แข็ง การแช่แข็งอาหารให้เก็บไว้ได้นาน ต้องผ่านกระบวนการ และเพิ่มเกลือ น้ำมัน และน้ำตาล รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ ส่วนใหญ่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ เป็นการเพิ่มขยะอีกด้วย

6. เศษอาหารเหลือนำมาทำปุ๋ยหมัก เพื่อช่วยคืนอินทรียสารลงสู่ดิน
7. รีไซเคิลช่วยลดคาร์บอนจากการผลิตใหม่ การรีไซเคิลกระป๋องอลูมิเนียม 1 ใบ สามารถประหยัดพลังงานได้เทียบเท่ากับปริมาณไฟฟ้าที่ใช้เปิดโทรทัศน์นาน 3 ชั่วโมง ส่วนขวดแก้ว 1 ใบ หากนำมารีไซเคิลจะประหยัดพลังงานได้เทียบเท่ากับปริมาณไฟฟ้าที่ใช้เปิดหลอดไฟขนาด 100 วัตต์ นาน 4 ชั่วโมง
8. ถอดปลั๊ก เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับการลดการปล่อยคาร์บอนจากการใช้ไฟฟ้า 

9. เลือกอุปกรณ์ประหยัดน้ำ และอุปกรณ์ประหยัดไฟ
10. วางแผนการเดินทางโดยเลือกยานพาหนะที่คุ้มค่า (ต่อโลก) ให้มากที่สุด เช่น เดินทางด้วยจักรยาน หรือระบบขนส่งมวลชน เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จากกิจกรรม ลดโลกร้อน ด้วยวิถีพอเพียง (Change Now for All Tomorrow) โดยสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย EGCO Group และทีเคปาร์คค่ะ??? โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์